แนวคิดการพัฒนาการศึกษาตามสไตล์รูปแบบของ newnaew
Newnaew.net เป็นเว็บแนะแนวขนาดเล็กที่ผู้ก่อตั้งมุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมแนะแนวในรูปแบบสารสนเทศออนไลน์ให้น้อง
ๆ เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแสวงหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพตนตามแนวปรัชญาการศึกษาของไทย
คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ทุกคนได้เข้าถึงการแนะแนวอย่างทั่วถึง
เป็นต้นแบบให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่จบการศึกษาเกี่ยวกับครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
ได้มีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยอุดมการณ์
ไม่ว่าท่านจะประกอบอาชีพครูอยู่หรือเปลี่ยนทิศทางในการประกอบอาชีพในสายอื่น
ๆ ก็ตาม หวังว่าท่านจะช่วยให้สังคมไทย และสังคมโลกได้เกิดความงอกงามทางด้านความคิด
เกิดความดีงามแก่สังคม
เนื่องจากผู้ก่อตั้งมีแนวคิดและอุดมการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาว่า
ควรแยกออกเป็น 2 ส่วน และต้องปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลโดยมีผู้เสียสละในการสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาเป็นรูปธรรม
คือ
ส่วนที่ 1 คือ
การศึกษาในโรงเรียน
เป็นหน้าที่ของครูผู้ประกอบวิชาชีพครู
และมีอาชีพเป็นครูปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพของตนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู
ส่วนที่ 2 คือ
การศึกษานอกห้องเรียน
ซึ่งเป็นการศึกษาในโลกกว้างไม่มีขีดจำกัดว่าต้องเรียนรู้ตรงไหน หรือที่ไหน เมื่อไหร่เพราะการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
ทั้งด้วยตนเอง และมีผู้อื่นชี้แนะหรือแนะแนวตามอัตภาพ ส่วนที่ 2 นี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง และผู้ที่มีอุดมการณ์ความเป็นครู
ค่อยช่วยเหลือส่งเสริมให้เยาวชน และผู้สนใจได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
ผู้ก่อตั้งจึงยึดเอาส่วนที่ 2
มาปฏิบัติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาให้เดินหน้าอย่างมีเป้าหมาย
จึงเป็นสาเหตุที่ผู้จัดทำตั้งปณิธานจะไม่สอบบรรจุเป็นข้าราชการครู แต่จะยังคงรักษาไว้ซึ่งจิตวิญาณแห่งความเป็นครู
อยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้เว็บแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนกิจกรรมแนะแนวยุค
พ.ศ. นี้ ตามแนวคิดของผู้ก่อตั้งเอง
อีกทั้งเป็นช่องทางให้ผู้ก่อตั้งได้ฝึกฝนประสบการณ์ความรู้ที่เกี่ยวกับการแนะแนวอย่างต่อเนื่อง
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พี่ ๆ น้อง ๆ
ผู้มีอุดมการณ์เดียวกันจะสานต่อในการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน
ให้เกิดการขยายวงกว้างมากขึ้น
พัฒนาทิศทางการศึกษาด้วยมือเรานะครับ
เพราะสังคมแห่งนี้มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
เราทุกคนจึงจะต้องมีส่วนร่วมอย่าเสมอภาพ และสามารถและความคิดเห็นอย่างเสรี
ตามหลักประชาธิปไตย
ช่วยสร้างปัจเจกชนที่มีคุณภาพให้กับสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น