วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เหตุผลของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไม่ประสบความสำเร็จ

เหตุผลของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไม่ประสบความสำเร็จ

เหตุผลของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไม่ประสบความสำเร็จสักที  ก็เพราะว่าการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม  ดังที่เห็นตามสื่อก็ดี หรือการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนก็ดี  มีการสร้างแบบประเมินผลคุณธรรมจริยธรรมกันอย่างหลากหลาย  แท้จริงแล้วคุณธรรม  จริยธรรมนั้นวัดค่าด้วยตัวหนังสือ  หรือค่าทางตัวเลขไม่ได้จริงว่าใครบ้างมีคุณธรรมมากกว่าคุณธรรมน้อยกว่า  เพราะคุณธรรมจริยธรรม ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่ที่บ้านเป็นพื้นฐาน และไม่สามารถสอนเป็นวิชาใดวิธีชาหนึ่งได้ เพราะการจะส่งเสริมคุณธรรมได้จริงนั้นมันต้องส่งเสริมได้ทุกเวลา  และทุกที่ทุกสถานการณ์  และอีกอย่างคือผู้ที่เป็นแบบอย่างนั้นก็ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเสียก่อนที่จะสอนเด็ก   นี้แหละคือสาเหตุของความล้มเหลวในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่บ้านเรา เมืองเราไม่เคยทำได้จริง 
ก็เพราะเราเน้นสอนวิชา ว่าคุณธรรมจริยธรรมนี้ควรจะเป็นวิชา 
เน้นการวัดผล  ว่าคุณธรรมจริยธรรมต้องวัดค่าได้ ประเมินได้ว่างั้น
เน้นการแข่งขัน  ว่าผลการประเมินของฉันทำให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมมากกว่าของเธอ
ยิ่งทุกวันนี้เห็นเด็ก ๆ เริ่มก้าวร้าวมากขึ้น ตีกัน  ใช้คำพูดไม่สุภาพ  คิดว่าตนคิดนอกกรอบแต่ขาดการตีกรอบความดีงาม  ทำให้เกินงาม

ทางแก้คือ 
1) พัฒนาตัวแบบ  คือ  ผู้ปกครอง  ครู  และผู้หลักผู้ใหญ่ ต้องทำตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมให้ได้ก่อน  เพราะหากทำไม่ได้จะสอนหรือส่งเสริมอีกสัก 100  ปี ก็ไม่เห็นผล
2) สร้างนิสัย  คือ  ลงมือทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่ต้องบังคับ  เพราะการถูกบังคับจะเป็นฝนความรู้สึกของคน  ฉะนั้นก็ควรหาวิธีชักจูงที่เหมาะสมกับแต่ละคนแล้วกัน
3) เรียนรู้ผ่านเรื่องราว  โดยนำเรื่องราวของบุคคลที่น่าสนใจ หรืออื่น ๆ ที่น่าติดตาม และสร้างแรงบันดาลใจในการมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งสามารถใช้สื่อได้หลากหลาย เช่น เรื่องสั้น  หนังสือ  ภาพยนตร์  สารคดี  ภาพ  เพลง  ฯลฯ
4) วัดค่าด้วยความรู้สึก  ไม่จำเป็นเสมอไปว่าเราจะต้องดีค่าความดีงาม ความมีคุณธรรมจริยธรรมด้วยเครื่องนานาชนิด  เพราะถ้าเราอยากให้ทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม  เราต้องศรัทธาในความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเป็นคนดีได้ และความดีเริ่มที่ใจใช้ความรู้สึกสัมผัสที่ใจ  แต่จะใช้เครื่องมือก็ได้แต่อย่าบ่อยมากนัก
5) ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม (แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคล)

ที่เขียนไว้ข้างต้นเป็นเพียงการเสนอความคิด  ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล 
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ


ผู้เรียบเรียง
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

11/07/2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น