วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ความอ่อนแอของระบบการศึกษา ณ พ.ศ. 2556

ความอ่อนแอของระบบการศึกษา ณ พ.ศ. 2556

การศึกษาไทยในยุคปัจจุบันวัดกันที่การแข่งขัน  วัดกันที่อันดับ  หลังจากผลการประเมินการจัดอันดับคุณภาพการศึกษา  ไทยอยู่อันดับท้ายของอาเซียน
หลายคนวิตกจริตไปกันใหญ่  โดยเฉพาะสื่อต่าง ๆ ประโคมข่าวกันอย่างสนุกสนาน

ซึ่งกระผมคนเขียนบทความนี้เองก็ไม่รู้รายละเอียดหลอกว่าเขาวัดอะไรบ้าง เพียงแต่เห็นข่าวประโคมก็เริ่มท้อใจกับสังคมไทยที่ค่อยโทษการศึกษาไทยว่าด้อยพัฒนา 
เราก็เห็น ๆ กันอยู่ว่าระบบการศึกษาบ้านเราปฏิรูปแล้วปฏิรูปอีกหลายรอบ  จนไม่รู้จะอธิบายอย่างไร

ซึ่งความหวังดีของผู้หลักผู้ใหญ่ นักวิชาการที่ค่อยแก้ไขระบบการศึกษาให้เปลี่ยนแปลงตามการแข่งขันทางด้านคุณภาพการศึกษาของประเทศ  ต่างตระหนกกันใหญ่  แล้วก็โทษครูผู้สอนว่าสอนอย่างไรถึงทำให้คุณภาพการศึกษาต่ำลง  แท้ที่จริงแล้วท่านนักวิชาการและผู้หลักผู้ใหญ่ลองกลับมามองระบบการศึกษาที่ท่านกำลังจะเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว  ได้ยินข่าวว่าจะยุบกลุ่มสาระการเรียนรู้ใหญ่เหลือ 6 กลุ่ม ก็คงจะเป็นการปฏิรูปการศึกษาอีกรอบ...    
เพราะการศึกษาบ้านเราชอบตามกระแส  นักวิชาการทางการศึกษาก็ไม่ค่อยได้ใช้เวลาคลุกคลีกับเด็กนักเรียน  นักศึกษามากนัก  เอาเวลาส่วนใหญ่ไปวางแผนการบริหารการศึกษาแบบไม่หยุดนิ่ง ปรับเปลี่ยนแนวคิดไปมาอยู่เสมอ เปลี่ยนคนเปลี่ยนความคิดตลอด  ที่เหลือก็โยนความผิดให้ครูผู้ปฏิบัติการสอนเป็นผู้รับกรรมจากสังคม ว่าการศึกษาไทยอ่อนแอ  แต่จะมีสักกี่คนที่จะเข้าใจความเป็นจริงของสังคมว่า  เด็กทุกวันนี้ประสบปัญหามากมาย ซึ่งส่วนใหญ่สังคมเป็นผู้สร้างไว้ทั้งนั้น  อีกทั้งระบบการเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ยุ่งยากขึ้นทุกวัน  เด็กไทยต้องเครียดอีกมาแค่ไหน อะไร ๆ ก็ลงที่เด็กที่ครูผู้สอน  การจะปรับปรุงการศึกษารอบต่อไป  ขอให้คิดให้ดี ไม่จำเป็นต้องรื้อใหม่เสมอไป ของเก่าดี ๆ ก็มี  ปรับปรุงคงจะดีกว่าปฏิรูปเป็นแน่แท้  ไม่อยากเห็นความอ่อนแอของการศึกษาไทยที่ต้องค่อยตามหลังคนอื่น เพราะเรามัวชื่นชมการศึกษาเมืองนอกจนเกินเหตุ  เมื่อไหร่จะเห็นนักวิชาการการศึกษาบ้านเราที่มีแนวคิดสร้างระบบการศึกษาที่ไม่ต้องตามเขา  มันเหนื่อยทั้งคนปฏิบัติและคนวางแผนการศึกษาไหมที่ต้องคอยเปลี่ยนแปลงตามกระแส แทนที่เราจะเป็นผู้นำกับต้องมาเป็นผู้ตาม

ความคิดส่วนตัวผู้เขียน  เห็นได้ชัดว่าเด็กยุคใหม่สมัยนี้ไม่ได้อ่อนด้านความรู้  ด้านทักษะ  เด็กไทยเก่งขึ้นมากกว่าเดิมเยอะ

คงไม่ต้องมาท้อใจกับการประเมินการศึกษาที่วัดค่าทางสถิติตัวเลข  เบื่อและท้อสังคมที่อ่อนแอตามกระแส

หวังว่าจะมีคนเข้าใจว่าครูไทยและเด็กไทยไม่อ่อนแอวิชาการอย่างที่คิด

เป็นกำลังใจให้ครูผู้ปฏิบัติการสอนและเด็กไทยสู้ต่อไป  

ผู้เขียน
(ดอกท้อ)

วันที่เขียน

4 กันยายน พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประมวลภาพบรรยากาศเก่า ๆ การทำเกษตรแบบบ้าน ๆ สวนบุญอารักษ์

ประมวลภาพบรรยากาศเก่า ๆ การทำเกษตรแบบบ้าน ๆ สวนบุญอารักษ์


ภาพเก่า ๆ บางส่วนที่เก็บไว้ในความทรงจำตอนที่ผมพยายามค้นคว้าความหมายของชีวิต หาสิ่งที่ชอบ
แต่ความชอบไม่ได้แปลว่าเราจะมีโอกาสได้เลือกในสิ่งที่เราชอบเดี๋ยวนั้น
เพราะต้องฝ่าฟันความเป็นจริงของชีวิตก่อน  













หลังจากที่ผ่านการทำงานมาระยะหนึ่งก็รู้แล้วว่าวันนี้จะต้องทำอะไรบ้างในสิ่งที่ต้องทำ
ขอบคุณสำหรับการตอบรับของทุกคนที่แวะเวียนมาใช้บริการเว็บ newnaew.net  ช่วยสานฝันให้ผมได้ก้าวเดินต่อไปตามอุดมการณ์ที่แรงกล้า
ซึ่งหลังจากที่ผมจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกมาก็ประกอบอาชีพเกี่ยวกับพิมพ์งานและจัดทำเอกสารมาโดยตลอดเป็นเวลา 5  ปี  ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องราวหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่เคยรู้  ทำให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้และการสร้างแหล่งเรียนรู้มากขึ้น
วันนี้ผมวางมือจากการพิมพ์งานและจัดทำเอกสารมาขอตามฝันในสิ่งที่อยากจะทำในชีวิต
หลังจากไปปฏิบัติธรรมมาทำให้เข้าใจความหมายของชีวิตมากขึ้นว่า เราไม่ควรประมาทในชีวิต
หลายสิ่งที่อยากทำแต่ไม่ได้ทำ  วันนี้จงเริ่มทำ และลงมือทำ
เพราะคนเรามีสิ่งที่อยากทำหลายอย่างในชีวิต ส่วนผมมีสิ่งที่อยากทำ คือ  การเขียนหนังสือ  การทำการเกษตร  การสร้างแหล่งเรียนรู้ และการพัฒนาระบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน  และอื่น ๆ อีกมายมาย
และวันนี้พอจะมีทุนสานต่ออุดมการณ์อยู่บ้าง คือ สร้างแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรแบบพอเพียงและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพร


  

น้อง ๆ หรือท่านผู้สนใจเกี่ยวกับการเกษตรสามารถแวะเวียนไปให้กำลังใจและเรียนรู้การใช้ชีวิตแบบพอเพียงได้ที่
เป็นอีกเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ผู้เขียน
กฤษดา 

วันที่เขียน

วันที่ 1  กันยายน  พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์

วิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์

หลาย ๆ คนไม่ชอบการติ หรือคำวิจารณ์
แต่รู้ไหมว่า การถูกติ หรือการถูกวิจารณ์  ทำให้เราได้กลับมามองว่าสิ่งที่ถูกวิจารณ์นั้นว่าเป็นจริงหรือไม่
แล้วควรจะแก้ไขอย่างไร หรือเป็นเพียงคำวิจารณ์ที่ไม่ก่อให้เกิดผลใด ๆ

ในการทำงานหลาย ๆ คนมักจะกลัวคำวิจารณ์จากผู้อื่น  ซึ่งบั่นทอนความรู้สึก
แต่ใครจะรู้ว่าคำวิจารณ์นั้นแหละเป็นสาเหตุให้คนบางคนเกิดการพัฒนาจนประสบความสำเร็จ
เพราะข้อวิจารณ์เหล่านั้นมีทั้งข้อวิจารณ์เพื่อให้เกิดผลดี  ทำให้ผลงานนั้นสมบูรณ์ขึ้น และข้อวิจารณ์ที่ไม่ก็ให้เกิดผลดี  การรู้จักแยกแยะข้อวิจารณ์เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ผู้ถูกวิจารณ์จะต้องรู้จักพิจารณาว่า  สิ่งที่ได้รับการวิจารณ์มานั้นข้อวิจารณ์ส่วนไหนนำมาปรับปรุงแล้วเกิดผลดี ข้อวิจารณ์ส่วนไหนเป็นข้อวิจารณ์ที่ไร้ประโยชน์ ก็ทิ้งไป
เฉพาะนั้นเวลาจะทำงานหรือตั้งใจจะทำอะไรสักอย่าง  สิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามคือผู้วิจารณ์ผลงาน  เพื่อที่เราจะได้ทราบความคิดเห็นของคนอื่นถึงที่เราทำนั้นมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้างที่เรามองไม่เห็น

การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์จึงมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาคนและผลงานให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น

วันที่เขียน
22/07/2556
ผู้เขียน

พยัคฆ์กูรู

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เหตุผลของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไม่ประสบความสำเร็จ

เหตุผลของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไม่ประสบความสำเร็จ

เหตุผลของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมไม่ประสบความสำเร็จสักที  ก็เพราะว่าการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ไม่สามารถใช้วิธีใดวิธีหนึ่งในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม  ดังที่เห็นตามสื่อก็ดี หรือการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนก็ดี  มีการสร้างแบบประเมินผลคุณธรรมจริยธรรมกันอย่างหลากหลาย  แท้จริงแล้วคุณธรรม  จริยธรรมนั้นวัดค่าด้วยตัวหนังสือ  หรือค่าทางตัวเลขไม่ได้จริงว่าใครบ้างมีคุณธรรมมากกว่าคุณธรรมน้อยกว่า  เพราะคุณธรรมจริยธรรม ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่ที่บ้านเป็นพื้นฐาน และไม่สามารถสอนเป็นวิชาใดวิธีชาหนึ่งได้ เพราะการจะส่งเสริมคุณธรรมได้จริงนั้นมันต้องส่งเสริมได้ทุกเวลา  และทุกที่ทุกสถานการณ์  และอีกอย่างคือผู้ที่เป็นแบบอย่างนั้นก็ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเสียก่อนที่จะสอนเด็ก   นี้แหละคือสาเหตุของความล้มเหลวในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่บ้านเรา เมืองเราไม่เคยทำได้จริง 
ก็เพราะเราเน้นสอนวิชา ว่าคุณธรรมจริยธรรมนี้ควรจะเป็นวิชา 
เน้นการวัดผล  ว่าคุณธรรมจริยธรรมต้องวัดค่าได้ ประเมินได้ว่างั้น
เน้นการแข่งขัน  ว่าผลการประเมินของฉันทำให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมมากกว่าของเธอ
ยิ่งทุกวันนี้เห็นเด็ก ๆ เริ่มก้าวร้าวมากขึ้น ตีกัน  ใช้คำพูดไม่สุภาพ  คิดว่าตนคิดนอกกรอบแต่ขาดการตีกรอบความดีงาม  ทำให้เกินงาม

ทางแก้คือ 
1) พัฒนาตัวแบบ  คือ  ผู้ปกครอง  ครู  และผู้หลักผู้ใหญ่ ต้องทำตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมให้ได้ก่อน  เพราะหากทำไม่ได้จะสอนหรือส่งเสริมอีกสัก 100  ปี ก็ไม่เห็นผล
2) สร้างนิสัย  คือ  ลงมือทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่ต้องบังคับ  เพราะการถูกบังคับจะเป็นฝนความรู้สึกของคน  ฉะนั้นก็ควรหาวิธีชักจูงที่เหมาะสมกับแต่ละคนแล้วกัน
3) เรียนรู้ผ่านเรื่องราว  โดยนำเรื่องราวของบุคคลที่น่าสนใจ หรืออื่น ๆ ที่น่าติดตาม และสร้างแรงบันดาลใจในการมีคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งสามารถใช้สื่อได้หลากหลาย เช่น เรื่องสั้น  หนังสือ  ภาพยนตร์  สารคดี  ภาพ  เพลง  ฯลฯ
4) วัดค่าด้วยความรู้สึก  ไม่จำเป็นเสมอไปว่าเราจะต้องดีค่าความดีงาม ความมีคุณธรรมจริยธรรมด้วยเครื่องนานาชนิด  เพราะถ้าเราอยากให้ทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม  เราต้องศรัทธาในความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถเป็นคนดีได้ และความดีเริ่มที่ใจใช้ความรู้สึกสัมผัสที่ใจ  แต่จะใช้เครื่องมือก็ได้แต่อย่าบ่อยมากนัก
5) ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม (แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคล)

ที่เขียนไว้ข้างต้นเป็นเพียงการเสนอความคิด  ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล 
โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ


ผู้เรียบเรียง
พยัคฆ์กูรู

วันที่โพส

11/07/2556

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดการพัฒนาการศึกษา

แนวคิดการพัฒนาการศึกษาตามสไตล์รูปแบบของ  newnaew



Newnaew.net เป็นเว็บแนะแนวขนาดเล็กที่ผู้ก่อตั้งมุ่งหวังว่าจะเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมแนะแนวในรูปแบบสารสนเทศออนไลน์ให้น้อง ๆ เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และแสวงหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพตนตามแนวปรัชญาการศึกษาของไทย คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ทุกคนได้เข้าถึงการแนะแนวอย่างทั่วถึง เป็นต้นแบบให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่จบการศึกษาเกี่ยวกับครุศาสตร์  ศึกษาศาสตร์ ได้มีกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ครูด้วยอุดมการณ์  ไม่ว่าท่านจะประกอบอาชีพครูอยู่หรือเปลี่ยนทิศทางในการประกอบอาชีพในสายอื่น ๆ ก็ตาม หวังว่าท่านจะช่วยให้สังคมไทย และสังคมโลกได้เกิดความงอกงามทางด้านความคิด เกิดความดีงามแก่สังคม
เนื่องจากผู้ก่อตั้งมีแนวคิดและอุดมการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาการศึกษาว่า ควรแยกออกเป็น 2  ส่วน และต้องปฏิบัติให้สัมฤทธิ์ผลโดยมีผู้เสียสละในการสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาเป็นรูปธรรม คือ 
ส่วนที่ 1  คือ  การศึกษาในโรงเรียน  เป็นหน้าที่ของครูผู้ประกอบวิชาชีพครู และมีอาชีพเป็นครูปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพของตนด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู
ส่วนที่ 2  คือ  การศึกษานอกห้องเรียน  ซึ่งเป็นการศึกษาในโลกกว้างไม่มีขีดจำกัดว่าต้องเรียนรู้ตรงไหน หรือที่ไหน เมื่อไหร่เพราะการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งด้วยตนเอง และมีผู้อื่นชี้แนะหรือแนะแนวตามอัตภาพ  ส่วนที่ 2 นี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง  และผู้ที่มีอุดมการณ์ความเป็นครู ค่อยช่วยเหลือส่งเสริมให้เยาวชน และผู้สนใจได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างเหมาะสม
ผู้ก่อตั้งจึงยึดเอาส่วนที่ 2 มาปฏิบัติเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาให้เดินหน้าอย่างมีเป้าหมาย จึงเป็นสาเหตุที่ผู้จัดทำตั้งปณิธานจะไม่สอบบรรจุเป็นข้าราชการครู  แต่จะยังคงรักษาไว้ซึ่งจิตวิญาณแห่งความเป็นครู อยู่เสมอ จึงเป็นเหตุให้เว็บแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนกิจกรรมแนะแนวยุค พ.ศ. นี้ ตามแนวคิดของผู้ก่อตั้งเอง


อีกทั้งเป็นช่องทางให้ผู้ก่อตั้งได้ฝึกฝนประสบการณ์ความรู้ที่เกี่ยวกับการแนะแนวอย่างต่อเนื่อง หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พี่ ๆ น้อง ๆ ผู้มีอุดมการณ์เดียวกันจะสานต่อในการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ให้เกิดการขยายวงกว้างมากขึ้น  พัฒนาทิศทางการศึกษาด้วยมือเรานะครับ  เพราะสังคมแห่งนี้มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง  เราทุกคนจึงจะต้องมีส่วนร่วมอย่าเสมอภาพ และสามารถและความคิดเห็นอย่างเสรี ตามหลักประชาธิปไตย  ช่วยสร้างปัจเจกชนที่มีคุณภาพให้กับสังคม 

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

นโยบายลดการบ้าน ลดเรียน ลดสอบ


นโยบายลดการบ้าน  ลดเรียน  ลดสอบ

อีกหนึ่งแนวคิดในการพัฒนาการศึกษาของบ้านเราทัดทันทียมกันนานาประเทศ
จัดการเรียนการสอนให้มีการบูรณาการวิชาต่าง ๆ
เน้นความเสมอภาคระหว่างนักเรียนกับครู
สิทธิเท่าเทียมกัน

พอได้อ่านเท่านี้ผมรู้สึกเห็นต่างไปอีกแง่มุม อันที่จริงการลดภาระงานให้นักเรียนก็มีสิ่งที่ดี
ลดการสอบ  สอบเท่าที่จำเป็น  ลดเวลาเรียนให้เหมาะสม 

แนวคิดเหล่านี้บางจุดก็ดีบางจุดก็ยังมีข้อบกพร่อง
เนื่องจากบริบทของสังคมไทยชอบอิสระ
เมื่อเด็ก ๆ มีเวลาว่างมากขึ้น  เด็กเราส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาในการเล่นมือถือ เข้าเน็ต คุยกันในสังคมออนไลน์
ก็เพราะธรรมชาติของเด็กชอบความสนุกสนาน  ชอบเข้าสังคม  เมื่อมีการรวมตัวกันของเด็ก
เด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการสื่อสารพูดคุยเล่นกันเป็นส่วนใหญ่
 ซึ่งหากจะให้เด็กใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้ในห้องสมุดคงเป็นเด็กบางส่วนเท่านั้นเอง
เพราะพื้นฐานของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
การใช้ระบบเดียวทั้งหมด ก็เหมือนกับการแจกเสื้อที่มีขนาดเดียวกันทั้งหมด  มันใส่ไม่ได้ทุกคน
บางคนจำเป็นต้องเข้มงวด  บางคนไม่จำเป็น
เมื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษากันแบบนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไป.....

ท้อใจ

ผู้เขียน
(ดอกท้อ)

เขียน 
วันที่  01/02/2556 

คำคมโดนใจ 2





เรียนรู้ความล้มเหลวให้เป็นประสบการณ์
แล้วเปลี่ยนประสบการณ์ให้กลายเป็นความสำเร็จ